Responsive image
เมนูหลัก
หน้าหลัก
เกี่ยวกับตำบล
ประวัติความเป็นมา
สภาพทั่วไป
สภาพสังคม
สภาพทางเศรษฐกิจ
การบริการพื้นฐาน
สถานที่สำคัญ/แหล่งท่องเที่ยว
เกี่ยวกับเรา
วิสัยทัศน์/ยุทธศาสตร์การพัฒนา
โครงสร้างส่วนราชการ
หน้าที่และอำนาจ
แผนพัฒนาท้องถิ่น
แผนการดำเนินงาน
หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
ข้อบัญญัติ
มาตรฐานการปฎิบัติงาน
ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ
มาตรการภายในเพื่อส่งเสริมความโปร่งใสและป้องกันการทุจริต
รายงานการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนา
บุคลากร
คณะผู้บริหาร
สมาชิกสภา
หัวหน้าส่วนราชการ
สำนักปลัด
กองคลัง
กองช่าง
ข้อมูลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
แผนอัตรากำลัง
นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
การดำเนินงานตามนโยบาย
หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
รายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากร
ข้อมูลการบริหารงาน
คู่มือหรือมาตรฐานการปฏิบัติงาน
คู่มือหรือมาตรฐานการให้บริการ
ITA
ITA ปี พ.ศ. 2565
ข่าวสารเครือข่าย
ข่าวประชาสัมพันธ์เครือข่าย
ข่าวกิจกรรมเครือข่าย
ปฏิทินกิจกรรมเครือข่าย
ข่าวรับสมัครโอน/ย้ายเครือข่าย
สินค้า OTOP เครือข่าย
งานจัดซื้อจัดจ้าง
แผนการจัดหาพัสดุ
ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา
ประกาศผลการจัดซื้อจัดจ้าง
สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้าง
รายงานผลการตรวจสอบการรับ-จ่ายพัสดุ
งานการเงินและการบัญชี
รายงานผลการดำเนินงาน
รายงานสถานะการเงิน
รายงานงบการเงิน
งานด้านจัดเก็บและพัฒนารายได้
งานบริการการจัดเก็บภาษี
แบบฟอร์มต่างๆ
ข่าวกิจการสภา
ประกาศกำหนดสมัยประชุม
ประกาศเรียกประชุมสภา
นัดประชุมสภา
รายงานการประชุมคณะผู้บริหาร
รายงานการประชุมสภา
ระเบียบ
หนังสือสั่งการ สถ.
พรบ./พรก.
กฎระเบียบกระทรวง
คำสั่ง สถ.
มติ ก. อบจ.
มติ ก. เทศบาล
มติ ก. อบต.
กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
เว็บบอร์ด
พูดคุยเรื่องทั่วไป
ข้อเสนอแนะ ติชม
รับเรื่องราวร้องทุกข์
ติดต่อเรา
ติดต่อเรา
แผนที่ดาวเทียม




หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

บทบาทหน้าที่
อำนาจหน้าที่ ของ องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำชุน
อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์

องค์การบริหารส่วนตำบล
     1.เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับตำบล : มีฐานะเป็นนิติบุคคล และเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
     2.มีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม : การจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง

รูปแบบองค์การ
     องค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย สภาองค์การบริหารส่วนตำบล และนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
     1.สภาองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวนหมู่บ้านละหนึ่งคน ซึ่งเลือกตั้งขึ้นโดยราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในแต่ละหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนั้น
     2.องค์การบริหารส่วนตำบลมีนายกองค์การบริหารส่วนตำบล 1 คน และรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลได้ไม่เกิน 2 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรงจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

การบริหาร
     กฎหมายกำหนดให้มีคณะกรรมการบริหาร อบต. (ม.58) ประกอบด้วยนายกองค์การบริหารส่วนตำบล 1 คน รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล 2 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลหรือผู้บริหารท้องถิ่นเรียกว่านายกองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งมาจากการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง อำนาจหน้าที่ของ อบต. อบต. มีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วน ตำบล พ.ศ. 2537 และ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2562)
     1.พัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (มาตรา 66)
     2.มีหน้าที่ต้องทำตามมาตรา 67 ดังนี้
          1.จัดให้มีและบำรุงทางน้ำและทางบก

          2.รักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย การดูแลกการจราจร และส่งเสริมสนับสนุนหน่วยงานอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว
          3.การรักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
          4.ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
          5.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
          6.จัดการ ส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม และการฝึกอบรมให้แก่ประชาชน รวมทั้งการจัดการหรือสนับสนุนดูแลและพัฒนาเด็กเล็กตามแนวทางที่เสนอแนะจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
          7.ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็กและเยาวชน ผู้สูงอายุและพิการ
          8.คุ้มครอง ดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
          9.บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
          10.ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมาย

มีหน้าที่ที่อาจทำกิจกรรมในเขต อบต. ตามมาตรา 68 ดังนี้

          1.ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคและการเกษตร
          2.ให้มีและบำรุงไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
          3.ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ
          4.ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ
          5.ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกร และกิจการสหกรณ์
          6.ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว
          7.บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพ
          8.การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
          9.หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของ อบต.
          10.ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม
          11.กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์
          12.การท่องเที่ยว
          13.การผังเมือง

อำนาจหน้าที่ตามแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ
     พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น พ.ศ. 2542 กำหนดให้ อบต.มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองตามมาตรา 16 ดังนี้

          1. การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
          2. การจัดให้มี และบำรุงรักษาทางบกทางน้ำ และทางระบายน้ำ
          3. การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
          4. การสาธารณูปโภค และการก่อสร้างอื่นๆ
          5. การสาธารณูปการ
          6. การส่งเสริม การฝึก และการประกอบอาชีพ
          7. คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
          8. การส่งเสริมการท่องเที่ยว
          9. การจัดการศึกษา
          10. การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
          11. การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
          12. การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัด และการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
          13. การจัดให้มี และบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
          14. การส่งเสริมกีฬา
          15. การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
          16. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
          17. การรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
          18. การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
          19. การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
          20. การจัดให้มี และควบคุมสุสาน และฌาปนสถาน
          21. การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
          22. การจัดให้มี และควบคุมการฆ่าสัตว์
          23. การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่นๆ
          24. การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
          25. การผังเมือง
          26. การขนส่ง และการวิศวกรรมจราจร
          27. การดูแลรักษาที่สาธารณะ
          28. การควบคุมอาคาร
          29. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
          30. การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน
          31. กิจอื่นใด ที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

อบต. มีความสําคัญอย่างไร
     อบต. มีความสําคัญต่อชุมชน (หมู่บ้าน/ตําบล) ดังนี้

          1. เป็นองค์กรที่ทําหน้าที่พัฒนาตําบลให้เจริญก้าวหน้าทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
          2. เป็นหน่วยประสานทรัพยากรระหว่าง อบต. กับท้องถิ่นอื่น ๆ รวมทั้งหน่วยราชการและหน่วยเอกชนอื่น ๆ
          3. เป็นเวทีประชาธิปไตยของประชาชนในการเลือกสมาชิกสภาท้องถิ่น (สมาชิกสภาอบต.) เข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจใช้งบประมาณรายได้ทรัพย์สินและระดมทุนเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาท้องถิ่น
          4. เป็นการส่งเสริมและพัฒนาคนในท้องถิ่น ให้ทํางานเพื่อท้องถิ่นของตนก่อให้เกิดการจ้างงานขึ้นในท้องถิ่น เช่น สมาชิกสภา อบต. พนักงานและลูกจ้างของ อบต.
          5. ส่งเสริมสิทธิและหน้าที่ของประชาชนให้มีส่วนรวมในการพัฒนาทองถิ่นตรวจสอบการทํางานและใช้สิทธิถอดถอนผู้แทนของตน (สมาชิกสภา) ที่ไม่ทำงานเพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น อบต.

มีโครงสร้างอย่างไร
     โครงสร้าง อบต.ประกอบด้วย

          1. สภาองค์การบริหารส่วนตําบล (สภาอบต.)
          2. คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตําบล (นายกอบต. และรองนายกอบต.)

สมาชิก อบต. มีหน้าที่อะไรบ้าง
     สมาชิกอบต. มีหน้าที่

          1. ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาตําบล
          2. ให้ความเห็นชอบร่างข้อบังคับตําบล/ร่างข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายประจําปี
          3. ควบคุมการทํางานของคณะผู้บริหาร
          4. เข้าร่วมประชุมสภาอบต. ตามสมัยประชุม

คณะผู้บริหาร อบต. (นายกอบต. และรองนายกอบต.) มีหน้าที่อะไรบ้าง
     คณะผู้บริหาร อบต. มีหน้าที่

          1. บริหารงานของ อบต. ให้เป็นไปตามข้อบังคับ และแผนพัฒนาตําบล
          2. จัดทําแผนพัฒนาตําบลและข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายประจำปีเสนอต่อสภา อบต.
          3. รายงานผลการทํางาน และการใช้เงินสภา อบต. ทราบ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
          4. ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่ทางราชการมอบหมายเข้าร่วมประชุมกับสภา อบต. ตามสมัยประชุม

บทบาทหน้าที่ของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตําบล
     บทบาทและหน้าที่ในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติ ในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งเป็นผู้ที่จะต้องตรา “ข้อบังคับตําบล” ออกมาใช้ในการดูแลสวัสดิการ ตลอดจน “ทุกข์”และ “สุข” ของประชาชนรวมทั้งมีอํานาจหน้าที่ถอดถอนผู้บริหารหรือสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตําบล ดังนั้นจึงต้องเป็นผู้ที่ยึดมั่นในหลักการประชาธิปไตยที่ต้องเผยแพร่และปลูกฝังแนวคิดประชาธิปไตยไปยังประชาชนในตําบล

แนวทางปฎิบัติในดำเนินบทบาทและหน้าที่ในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติมีดังนี้

          1. ต้องยึดมั่นในกติกาประชาธิปไตย เช่น การเลือกตั้งโดยเสรีการใช้สิทธิคัดค้าน การโต้แย้งการแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางการยอมรับและเคารพสิทธิของผู้อื่นการยอมรับความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย ฯลฯ
          2. ต้องมีวิถีการดําเนินชีวิตและบุคลิกลักษณะที่เป็นการส่งเสริมประชาธิปไตย เช่น เป็นผู้มีจิตใจกว้างขวาง ฟังเคารพในเหตุผล

ประชาชนในเขต อบต. มีสิทธิและหน้าที่ดังนี้

          1. มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภา อบต.
          2. ถอดถอนสมาชิกหรือผู้บริหาร อบต.
          3. เสนอให้ออกข้อบังคับตําบล
          4. แสดงเจตนารมณ์ในการรวม อบต.
          5. เข้าฟังการประชุมสภา อบต.
          6. เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการการซื้อการจ้าง โดยวิธีสอบราคา ประกวดราคาและวิธีพิเศษของ อบต. อย่างน้อยคณะละ 2 คน
          7. มีหน้าที่ไปเลือกตั้งสมาชิกสภาอบต.
          8. ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับตําบล
          9. เสียภาษีแก่ อบต.
          10. สนับสนุนและร่วมกิจกรรมกับ อบต.
          11. ติดตามและดูแลการใช้จ่ายงบประมาณของ อบต.
          12. ร่วมกันเสริมสร้างชุมชน และประชาคมหมู่บ้าน ของตนใหเข้มแข็ง
          13. ได้รับบริการสาธารณะและการบําบัดทุกข์บํารุงสุขจาก อบต. ตามอํานาจหน้าที่ ของอบต.


องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำชุน
หมู่ที่ 2 ตำบลน้ำชุนใน อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์  67110
โทรศัพท์ : 0-5679-4255  อีเมล์สารบรรณกลาง : 
saraban_06670306@dla.go.th
Facebook: https://www.facebook.com/saonamchun/

www.namchun.go.th